Header

ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม (Chemotherapy) คืออะไร รักษามะเร็งอย่างไร ผลข้างเคียง

นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์ นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

     การรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด หรือ คีโม เป็นวิธีที่หลาย ๆ คนได้ยินกันบ่อย ๆ เพราะวิธีนี้เป็นการรักษาที่ใช้มากที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน  แต่เมื่อพูดถึงวิธีนี้หลายคนมักกลัว เพราะเคยได้ยินเรื่องผลข้างเคียงของการรักษาอย่างผมร่วง และอาการอื่น ๆ กันมาบ้าง แต่ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้การรักษามะเร็งพัฒนาไปอย่างมาก มีผลข้างเคียงน้อยลง เพราะฉะนั้นมาทำความเข้าใจเรื่องการรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด หรือ คีโมกันให้มากขึ้น

 

เคมีบำบัดคืออะไร?

     การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือ คีโม (Chemotherapy) เป็นวิธีการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย พร้อมทั้งยับยั้งไม่ให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัว เติบโต แพร่กระจาย และตายลงในที่สุด การให้คีโมนอกจากจะช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง ลดจำนวนเซลล์มะเร็งแล้ว ยังช่วยป้องกันการเป็นซ้ำอีกด้วย 
     โดยแพทย์อาจพิจารณาการรักษามะเร็งด้วยวิธีการให้คีโมร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ อย่างการฉายแสง การใช้ยามุ่งเป้า หรือการผ่าตัดเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งในร่างกาย โดยขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงของมะเร็งด้วย ซึ่งในปัจจุบันการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือ คีโมได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็งมากกว่าเดิม อีกทั้งยังลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเช่น ผมร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ให้ลดน้อยลง 
     ทั้งนี้การรักษามะเร็งตั้งแต่ระยะเนิ่น ๆ การพบแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคมะเร็ง เพื่อวางแผนรักษาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้สามารถรักษามะเร็งได้อย่างทันท่วงที และมีโอกาสหายขาดได้มากขึ้น

 

เป้าหมายของการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือ คีโม

1.เพื่อให้หายขาดจากมะเร็ง (Cure) 
     เป้าหมายหลักของการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือ คีโม คือ การหายขาดจากโรคมะเร็ง ไม่กลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้แบบปกติ ซึ่งโรคมะเร็งบางชนิดที่มีโอกาสหายขาดอาจจะต้องใช้เวลาในการตรวจติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลาหลายปี เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งแล้ว

2.เพื่อให้สามารถควบคุมโรคได้ (Control) 
     การให้คีโมเล็งผลให้เซลล์มะเร็งถูกทำลาย ยับยั้งเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกายไม่ให้เติบโตแพร่กระจายสู่อวัยวะส่วนอื่น ๆ และทำให้มะเร็งหดตัวลง คีโมช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต และช่วยไม่ให้ผู้ป่วยอาการทรุดมากกว่าเดิม

3.เพื่อประคับประคอง (Palliative care) 
     ในผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 3-4 ที่มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ จนยากที่จะควบคุม การให้คีโมช่วยบรรเทาความเจ็บปวด เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วย ไม่ให้อาการแย่ลงและช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตปกติได้อย่างยืนยาวที่สุด

 

 

ประเภทของยาเคมีบำบัด หรือ คีโมที่ใช้รักษามะเร็ง

ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม สามารถให้เข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้หลายวิธี ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการให้คีโมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและลักษณะของโรคมากที่สุด

  • เคมีบำบัดชนิดรับประทาน เป็นยาคีโมในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล หรือยาน้ำสำหรับรับประทาน โดยจะช่วยให้การบริหารยาสะดวกมากขึ้น และลดการเข้าพักในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาเคมีบำบัด
  • เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด โดยการหยดร่วมกับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ 
  • เคมีบำบัดชนิดฉีดยาเข้าทางไขสันหลัง โดยการฉีดยาเข้าสู่บริเวณช่องว่างระหว่างชั้นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง

 

ขั้นตอนวิธีการให้เคมีบำบัด

     ในขั้นตอนแรกก่อนให้คีโมแพทย์จะสอบถามประวัติของผู้ป่วยอย่างละเอียด ตรวจการทำงานของระบบในร่างกายที่เกี่ยวข้อง ตรวจการทำงานของตับ ตรวจเลือดเพื่อเช็คความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และตรวจหัวใจ เนื่องจากการให้ยาบางชนิดจำเป็นต้องตรวจการทำงานของหัวใจก่อนให้ยา และยังตรวจภาพรังสีเพื่อดูระยะของโรคเพื่อเปรียบเทียบผลการรักษา ก่อน-หลังการให้เคมีบำบัด

     จากนั้นแพทย์จะต้องมีการแจ้งกับผู้ป่วยเกี่ยวกับแผนการรักษา รวมถึงข้อดีและข้อเสีย ไปจนถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น โดยทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะมีการตัดสินใจในการเลือกใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกัน

 

ผลข้างเคียงของเคมีบำบัด

     เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดมีผลต่อเซลล์มะเร็งโดยตรง และอาจมีผลต่อเซลล์ปกติของร่างกายด้วย โดยผลข้างเคียงในผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของยาเคมีบำบัด ขนาดของยาที่ได้รับ รวมถึงสภาวะร่างกายของผู้ป่วยก่อนที่จะได้รับยา แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อยาหมดฤทธิ์อาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นและกลับสู่ภาวะปกติ โดยผลข้างเคียงที่อาจพบได้มีดังนี้

  • เกิดแผลในปาก เจ็บปาก เจ็บคอ ในช่วงสัปดาห์แรกหลังทำคีโม ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรเลือกใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มพิเศษ  ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และลิปมันสูตรอ่อนโยนเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการระคายเคือง หมั่นรักษาความสะอาดภายในช่องปาก และดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ
  • ผิวบอบบางแพ้ง่าย ควรทาครีมบำรุงผิวและใช้สบู่สูตรอ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม มีสารเพิ่มความชุ่มชื้นหรือผลิตภัณฑ์สูตรเฉพาะที่มีขายที่โรงพยาบาลเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงแสงแดด ควรทาครีมกันแดดเป็นประจำ สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมถุงเท้า ทั้งนี้เสื้อผ้าที่สวมใส่ควรเป็นผ้าเนื้อนุ่ม  ไม่มีตะเข็บ เพื่อลดการเสียดสี
  • ผมร่วง ผู้ป่วยควรตัดผมสั้นเพื่อความสะดวกในการดูแล ใช้แชมพูที่อ่อนโยนต่อหนังศีรษะและเส้นผม  ใช้แปรงหวีผมที่มีขนนิ่มหรือหวีเด็ก ไม่ควรดัด ทำสี หรือใช้เคมีรุนแรงกับเส้นผม
  • ปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดเนื้อปวดตัว สำหรับอาการปวดหลังรับคีโมสามารถใช้เจลประคบร้อนเย็นประคบตามตัวเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ 
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน สามารถรับประทานอาหารเสริมทางการแพทย์เสริมมื้ออาหารในช่วงหลังทำคีโมได้ 

     ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ได้แก่ ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายมาก อ่อนเพลียมาก มีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป เจ็บรอบ ๆ ทวารหนัก ซีดมาก เหนื่อยหอบ หน้ามืด มีจุดเลือดจ้ำ เลือดขึ้นตามผิวหนัง เยื่อบุตาขาว เลือดออกตามไรฟัน ปวดศีรษะรุนแรง สูญเสียการทรงตัว ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

 

ระยะเวลาการรักษาและความถี่ในการรับเคมีบำบัด

     สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยคีโมนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะ และอาการของผู้ป่วย รวมถึงการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย โดยปกติแพทย์จะให้คีโมเป็นชุด ซึ่งจะใช้คีโม 1 ชุด / ต่อระยะเวลา 1-5 วัน อาจเว้นช่วงห่างแต่ละชุด 3-4 สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับเคมีบำบัดเฉลี่ย 6-8 รอบ จำนวนชุดคีโมที่จะต้องรับขึ้นอยู่กับอาการและแผนการรักษาของแพทย์แต่ละท่าน และจำเป็นต้องรับยาเคมีบำบัดตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้ผลของการรักษามีผลลัพธ์ที่ดี

 

ข้อดี ข้อเสีย และความเสี่ยง

     ข้อดี : กำจัดเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง กระแสเลือดและอวัยวะในร่างกายได้ ลดการกระจายของเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งบางประเภทสามารถรักษาได้ด้วยเคมีบําบัดเพียงอย่างเดียว หรือการรักษาร่วมกับวิธีอื่น ๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

     ข้อจำกัด

  • แม้จะออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเป็นหลัก แต่ก็ทำลายเนื้อเยื่อดีด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ทำให้คนไข้ไม่สุขสบายตัว
  • ดื้อยาเคมีบำบัด
  • อาจพบผลข้างเคียงจากการรักษาได้ และจำเป็นต้องมาให้คีโมตามเวลานัดทุกครั้ง
  •  

 

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับเคมีบำบัด

  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีนเพื่อให้ร่างกายพร้อมรับเคโมและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ขาว เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา ของหมักดอง และของมึนเมาทุกชนิด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทำอารมณ์และจิตใจให้พร้อมรับการรักษา
  • แจ้งแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามินเสริม หรือสมุนไพรที่กำลังใช้อยู่
  • หากมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน

 

การดูแลตัวเองหลังเข้ารับเคมีบำบัด

  • รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารดิบ อาหารหมักดอง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่ ควันพิษ และอาหารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่น ๆ หากรู้สึกว่าตนเองมีความวิตกกังวล เครียด

 

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

     ให้บริการดูแลผู้ป่วยในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง บริการแบบครบวงจรที่มีมาตรฐานสากล โดยแพทย์ผู้ชำนายการด้านโรคมะเร็งเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในราคาที่เข้าถึงได้ พร้อมให้บริการตั้งแต่

  • การตรวจวินิจฉัย (Diagnosis)
  • ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งทุกชนิด (Cancer Screening)
  • การผ่าตัด ( Surgery )
  • การรักษาด้วยรังสีรักษา (Radiation therapy)
  • รักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
  • รักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)
  • การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative Care)

 

     มะเร็งแม้เป็นโรคร้าย แต่หากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และวางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพที่ดีขึ้นได้ และด้วยความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด หรือคีโมในปัจจุบันนั้น ทำให้มียาเคมีบำบัดกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีมากขึ้น มีผลข้างเคียงลดน้อยลงกว่ายาเคมีบำบัดกลุ่มเดิมมาก ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ นำโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยา ร่วมกับทีมแพทย์สหสาขาในการรักษาโรคมะเร็งทุกชนิดแบบองค์รวม ด้วยกระบวนการรักษาด้วยมาตรฐานสากลพร้อมด้วยอุปกรณ์การแพทย์และเทคโนโลยีอันทันสมัย และบุคคลากรทางการแพทย์ที่คอยให้การติดตามผลหลังการรักษาอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้รับการรักษาหายขาดจากโรคมะเร็ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย
นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์ แพทย์เฉพาะทางมะเร็ง โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ
ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2567



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งครบวงจร ศรีสะเกษ โรงพยาบาลพริ้นซ์ศรีสะเกษ

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

045-96-8888

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์

อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

แพทย์หญิง กฤติกา โภคสวัสดิ์

รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

แพทย์หญิง สุภัชชา เขียวหวาน

รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์