Header

รวมทุกข้อควรรู้ ผ่าตัดรักษามะเร็ง ทางเลือกในการรักษามะเร็ง

นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์ นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์

ข้อควรรู้ ผ่าตัดรักษามะเร็ง  | โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

     โรคมะเร็งหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรโลก รวมถึงในประเทศไทย เมื่อพูดถึงโรคมะเร็ง หลายคนมักจะมองเป็นโรคที่น่ากลัวและร้ายแรงที่หมดทางรักษา แต่รู้หรือไม่? มะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่มีหลายชนิด หลายระยะ หากพบเร็วตั้งแต่เนิ่นๆ มะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าอย่างมากทำให้มีวิธีการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพที่ดีขึ้นหลายวิธีทั้งการผ่าตัดรักษามะเร็ง ที่มีการพัฒนาสามารถผ่าตัดแผลเล็ก ใช้เวลาพักฟื้นสั้นลง เจ็บปวดน้อยลง รวมทั้งวิธีอื่นๆ อย่างเช่น การใช้ยามุ่งเป้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง หรือการฉายรังสีรักษาที่ใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปทำลายเซลล์มะเร็ง การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นต้น ในบทความนี้ “นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์ จากโรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ” ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งที่ปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างมาก มีหลายวิธี เพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจกันมากขึ้น

 

การรักษาด้วยการผ่าตัด คืออะไร

     การรักษามะเร็งด้วยการผ่าตัด ในปัจจุบันยังถือเป็นมาตรฐานในการรักษาโรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น หรือ มะเร็งอยู่เฉพาะที่ยังไม่กระจายไปยังอวัยวะอื่น จึงสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด แต่ในบางกรณีที่มะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมะเร็งลุกลามมาก และไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ในตอนแรก แพทย์อาจต้องให้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นก่อนให้ก้อนมะเร็งยุบลง หรือควบคุมไม่ให้เซลล์ลุกลามแล้วค่อยไปผ่าตัดรักษา 
     ซึ่งวิธีการผ่าตัดนั้นแพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้องอกหรือก้อนมะเร็งออกให้หมด ในบางครั้งจำเป็นต้องผ่าเอาเนื้อดีรอบๆ เนื้องอกออกไปด้วยเพื่อให้แน่ใจว่าได้ตัดเนื้องอกออกทั้งหมดจึงต้องส่งชิ้นเนื้อรอบๆ เนื้องอกเพื่อส่องกล้องว่ามีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่อีกหรือไม่
โดยเป้าหมายของการผ่าตัดมะเร็งมีดังต่อไปนี้
     1. การวินิจฉัย : ในกรณีที่มีก้อนที่สงสัย หรือเนื้องอกไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามในร่างกาย ก่อนที่จะเริ่มให้การรักษาแพทย์ต้องรู้ว่าก้อนนั้นเป็นอะไร เป็นเนื้องอกธรรมดา หรือเนื้อร้าย การผ่าเอาชั้นเนื้อส่งตรวจจะทำให้แพทย์ทราบการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งจริงหรือไม่ และเป็นมะเร็งชนิดไหนเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
     2. การรักษา : การผ่าตัดรักษามะเร็งที่อยู่เฉพาะที่ หรือมะเร็งในระยะแรก ยังไม่มีการลุกลามพื่อผลทางการรักษา ในส่วนของแพทย์จะผ่าเพื่อนำเนื้อร้าย หรือสงสัยว่าเป็นเนื้อร้ายออกจากร่างกายให้มากที่สุด รวมทั้งต่อมน้ำเหลือง หรือเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียงกันออก
     3. การผ่าเพื่อบอกระยะของโรค : การรักษามะเร็งต้องรู้ระยะของโรคเพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสม การผ่าตัดนี้ส่วนใหญ่จะทำพร้อมกับการผ่าตัดเพื่อรักษา
     4. การผ่าตัดเพื่อซ่อม : หลังจากที่เราตัดมะเร็งออกไปแล้วอาจจะทำให้อวัยวะบางอย่างถูกตัดไปด้วย หรืออาจจะผ่าตัดตกแต่ง เช่น มะเร็งเต้านม เป็นต้น

 

ประเภทของการผ่าตัดรักษามะเร็ง

      ปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดที่หลากหลายทำให้ไม่ต้องตัดอวัยวะ และไม่ทำให้เสียรูปทรง เช่น การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้า เป็นต้น

  • การผ่าตัดแบบทั่วไป เป็นการผ่าตัดเปิดเนื้อเยื่อ มักใช้กับการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนมาก ๆ ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 7-14 วัน
  • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดโดยการเจาะผ่านช่องท้องหรือผิวหนังใกล้บริเวณอวัยวะที่ต้องการผ่าตัด และสอดอุปกรณ์ผ่าตัดกล้องขนาดเล็กเข้าไปเพื่อส่งมายังจอรับและบันทึกภาพขณะผ่าตัด ซึ่งกล้องทำหน้าที่แทนตาของศัลยแพทย์ทำให้การผ่าตัดสะดวกขึ้นเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ลดความเจ็บปวด และฟื้นตัวได้เร็ว เหมาะกับมะเร็งระยะต้นถึงระยะปานกลาง 
  • การผ่าตัดแบบใช้ความเย็น (Cryoablation) เป็นการนำแท่งความเย็นแทงผ่านชั้นผิวหนังลงไปที่เซลล์มะเร็งโดยการใช้อุณหภูมิต่ำกว่า -40 องศาเซลเซียส ภายใน 1 นาที ใช้เวลาผ่าตัด 30 นาที ก็สามารถสลายก้อนมะเร็งได้ วิธีนี้ช่วยลดความเจ็บปวด และไม่ทำลายเส้นเลือดใหญ่ อีกทั้งลดโอกาสการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งที่เกิดจากการผ่าตัดให้น้อยลงได้อีกด้วย
  • การผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์ (Photodiagnostic Therapy) เป็นการใช้สารเคมีร่วมกับแสงเลเซอร์เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งตาย แต่ไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง เป็นหนึ่งในวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กที่ช่วยลดความเจ็บปวดและระยะเวลาในการฟื้นตัวของผู้ป่วย

 

การผ่าตัดมะเร็งที่พบบ่อย 

     การผ่าตัดมะเร็งแม้จะเป็นวิธีที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีผลข้างเคียงลดลง ไม่ต้องสูญเสียอวัยวะเหมือยอย่างในอดีต แต่หากมีเซลล์มะเร็งที่กระจายไป หรือมีเซลล์ที่มองไม่เห็น ยังไม่ได้รับการกำจัดออกร่างกาย ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะทำให้กลายเป็นมะเร็งได้อีกครั้ง สำหรับมะเร็งที่สามารถผ่าตัดได้มีดังนี้

  • การผ่าตัดมะเร็งตับ
  • การผ่าตัดมะเร็งศีรษะและคอ
  • การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบตัดเต้านมทั้งหมด และการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม
  • การผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก
  • การผ่าตัดก้อนมะเร็งที่สมอง
  • การผ่าตัดมะเร็งกระดูก
  • การผ่าตัดปอดบางส่วน
  • การผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • การผ่าตัดมะเร็งรังไข่ หรือมดลูก
  • การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

กระบวนการเตรียมตัวและการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดมะเร็ง

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดรักษามะเร็ง

1.มีความตั้งใจแน่วแน่ ทำจิตใจให้สบาย พร้อมรับการผ่าตัด และมั่นใจในแผนการรักษาที่จะได้รับ
2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบทั้ง 5 หมู่ โปรตีนจากสัตว์  ปลา  ไข่  นม  ผัก ผลไม้ ฯลฯ
3.งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
4.ควรดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้วต่อวัน ยกเว้นในรายที่มีภาวะไตเสื่อม และภาวะน้ำท่วมปอด
5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง/วัน
6.ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  อย่างน้อยวันละ 15 นาที
7.รักษาความสะอาดทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า

 

การดูแลหลังการผ่าตัดรักษามะเร็ง

1.ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด หากพบอาการผิดปกติควรรีบแจ้งแพทย์ทันที  เช่น  รู้สึกเหนื่อย  แน่นหน้าอก  หายใจไม่ออกมากขึ้น  มีเลือดไหลออกไม่หยุดจากแผล  เป็นต้น
2.การทำความสะอาดแผลผ่าตัดในระยะนี้  จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์และพยาบาล  โดยจะต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาดปราศจากเชื้อให้มากที่สุด  ส่วนในรายละเอียดของเทคนิควิธีการทำแผลก็จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งที่ทำการผ่าตัด  
3.การออกกำลังจะช่วยให้กลับสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น  สำหรับการผ่าตัดทั่วๆ ไปหลังผ่าตัดประมาณวันที่ 3–4 แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยเดินรอบเตียงได้ และให้เดินไปห้องน้ำเอง หลังผ่าตัดประมาณวันที่ 7–10 ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกหัดเดินขึ้นบันได 1 ชั้น

 

ข้อดีและข้อเสียของการผ่าตัดมะเร็ง

ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัด

  • การกำจัดเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็ว : การผ่าตัดสามารถกำจัดเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งได้โดยตรงและรวดเร็ว ทำให้มีโอกาสลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของมะเร็ง : โดยเฉพาะในกรณีที่มะเร็งอยู่ในระยะแรก การผ่าตัดช่วยลดโอกาสที่เซลล์มะเร็งจะกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • เพิ่มโอกาสในการหายขาด : สำหรับบางประเภทของมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด การผ่าตัดสามารถเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยหายขาดได้หากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

 

ข้อเสียหากใช้การผ่าตัดรักษามะเร็ง

หากมีเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือมองไม่เห็น จะยังไม่ได้รับการกำจัดออกร่างกายจะทำให้กลายเป็นมะเร็งได้อีกครั้ง และหากมะเร็งที่มีขนาดใหญ่มากหากผ่าตัดออกทั้งหมด อวัยวะที่เหลือไม่เพียงพอที่จะทำงานต่อได้ หรือบางตำแหน่งผ่าตัดได้ยาก และอาจสูญเสียการทำงานของอวัยวะนั้นๆ เช่น มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลังโพรงจมูก เป็นต้น

 

การผ่าตัด vs. การรักษามะเร็งประเภทอื่นๆ

การผ่าตัดรักษามะเร็งเป็นวิธีที่กำจัดมะเร็งเฉพาะที่ หรือมะเร็งระยะเริ่มต้นออกได้ทั้งหมด และด้วยปัจจุบันการผ่าตัดมีความก้าวหน้ามาก หลายอวัยวะสามารถผ่าตัดโดยไม่ทำให้เสียรูปทรง และหลีกเลี่ยงการสูญเสียอวัยวะนั้นไป เช่น มะเร็งเต้านมมีการผ่าตัดเฉพาะก้อนไม่ต้องตัดนมทั้งเต้าแบบในอดีต, มะเร็งกระดูกของกระดูกต้นขาสามารถผ่าตัดเก็บรักษาขาได้โดยไม่ต้องตัดขา แต่วิธีนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่และมีอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังหารผ่าตัดได้เช่น อาการเจ็บปวดหลังผ่าตัด และหากมะเร็งมีการลุกลามการผ่าตัดอย่างเดียวอาจยังไม่พอแพทย์ต้องพิจารณาวิธีอื่นร่วมกับการผ่าตัดด้วยเช่น การใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) และการให้เคมีบำบัด (Chemotherapy) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดเซลล์มะเร็ง แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งก่อน แล้วตามด้วยการใช้ยาหรือรังสีบำบัดเพื่อลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำ

 

คำถามที่พบบ่อยเรื่องการผ่าตัดกับผู้ป่วยมะเร็ง 

Q : ผ่าตัดรักษามะเร็งหายขาดหรือไม่
A : การผ่าตัดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งในระยะเริ่มต้น ยังไม่มีการแพร่กระจายจะสามารถผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้ แต่ในบางกรณีที่มะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมีบางเร็งบางชนิดมีการแพร่กระจายโดยที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นอาจจะจำเป็นต้องให้เคมีหรือฉายแสงฆ่าเซลล์มะเร็งส่วนที่ตัดออกไม่หมด
 

Q : ระยะเวลาการผ่าตัด
A : เวลาในการผ่าตัดขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเคส โดยปกติการผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชม
 

Q : ผ่าตัดมีผลต่อการกระจายของเซลล์มะเร็งจริงหรือไม่
A : การผ่าตัดอาจกระตุ้นปฏิกริยาในร่างกายที่กระตุ้นการเติบโตของเซลล์ปกติ และเซลล์มะเร็งได้ แต่การกระตุ้นให้เซลล์โตขึ้นนั้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาดแผล และเชื้อที่ยังเหลืออยู่ในร่างกาย แต่การผ่าตัดนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในการวินิจฉัยและการรักษา ซึ่งการผ่าตัดที่ถูกต้อง และทันเวลา ทำให้มีโอกาสรักษามะเร็งให้หายขาดได้

 

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

     ศูนย์รักษามะเร็งอย่างครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและทีมแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง ดูแลผู้ป่วยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและระยะสุดท้าย ให้บริการตั้งแต่

  • การตรวจวินิจฉัย (Diagnosis)
  • ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งทุกชนิด (Cancer Screening)
  • การรักษาด้วยรังสีรักษา (Radiation therapy)  
  • รักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) 
  • รักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) 
  • การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative Care)

     การผ่าตัดรักษามะเร็งเป็นทางเลือกที่สำคัญในการรักษามะเร็ง โดยเฉพาะในกรณีที่มะเร็งยังอยู่ในระยะแรกและสามารถควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรพิจารณาข้อดีและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมตามสภาพของตัวเอง การผ่าตัดยังคงเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์ แพทย์เฉพาะทางมะเร็ง โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ
ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม 2567



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งครบวงจร ศรีสะเกษ โรงพยาบาลพริ้นซ์ศรีสะเกษ

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

045-96-8888

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

แพทย์หญิง สุภัชชา เขียวหวาน

รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์

อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

แพทย์หญิง กฤติกา โภคสวัสดิ์

รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์