Header

2 ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง สาเหตุ และ 7 วิธีป้องกันก่อนสาย

ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง สาเหตุ และวิธีป้องกันก่อนสาย โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

มะเร็งเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกเป็นจำนวนมาก เป็นโรคที่หลายคนกังวลใจเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวขึ้นในทุกวัน ซึ่งแน่นอนว่ามะเร็งเป็นโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่ากับตัวเองหรือคนในครอบครัว โดยก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งกันก่อนครับ ว่าเป็นความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะ ที่สามารถแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นในร่างกายได้ทุกส่วน แม้ว่ามะเร็งจะเป็นโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากเผชิญ แต่การป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่วันนี้สามารถช่วยให้เรามีสุขภาพดีและลดโอกาสเกิดมะเร็งในอนาคตได้ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง สาเหตุ และวิธีป้องกันก่อนสายเกินแก้กันครับ

สาเหตุของโรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง (Cancer) เป็นโรคเกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายมีการแบ่งตัว และเจริญเติบโตผิดปกติอย่างรวดเร็ว จนเริ่มเกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้แบบไม่สามารถควบคุมได้ โดยสาเหตุของโรคมะเร็งนั้นค่อนข้างซับซ้อน จึงไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งที่แน่ชัดได้ เนื่องจากมีปัจจัยการเกิดหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง ทั้งปัจจัยภายในร่างกาย และภายนอกร่างกาย เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเป็นก้อนเนื้อร้าย หรือเนื้องอกร้าย ลุกลามผ่านทางระบบเลือด หรือระบบทางเดินน้ำเหลืองไปสู่อวัยวะอื่นได้โดยใช้เวลาไม่นาน

 ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งมีอะไรบ้าง 

 

 ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งมีอะไรบ้าง 

     มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่สะสมจากสิ่งแวดล้อมกันมาเป็นเวลานานทั้งภายนอกร่างกาย และภายในร่างกาย ดังนี้

  • ปัจจัยภายนอกร่างกาย เป็นปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย ส่วนมากมาจากพฤติกรรมการทำกิจวัติประจำวันแบบเดิมซ้ำ ๆ ไปในที่เดิมโดยไม่มีการระวังเรื่องความสะอาดความปลอดภัยตนเอง เช่น การรับสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด การสัมผัสสารเคมีบางชนิด ทำให้ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการก่อมะเร็ง
  • ปัจจัยภายในร่างกาย เป็นปัจจัยที่อยู่ภายในร่างกายของเราเอง ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้โดยตรง เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็มีปัจจัยภายนอกหลายอย่าง ที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยภายในได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อายุ ฮอร์โมน หรือระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง

 

7 วิธีป้องกันและลดการเกิดมะเร็งก่อนสาย

 การป้องกันความเสี่ยงจากภัยร้ายอย่างมะเร็ง และลดปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งสำคัญมากที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เพียงเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ชีวิต  เพราะการตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะทำให้การรักษาเป็นไปได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสหายสูงยิ่งขึ้น ดังนั้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้มากเลยทีเดียว ดังนั้นจึงควรเริ่มปรับพฤติกรรมดังนี้

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิด โดยจำเป็นต้องพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่  เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งช่องปาก และมะเร็งศีรษะและลำคอ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เนื่องจากบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอด และยังเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งชนิดอื่นๆ
  3. หลีกเลี่ยงมลพิษ และแสงแดดจัด เลี่ยงการออกแดดในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. หรือหมั่นทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไปเป็นประจำทุกวัน เพราะรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง รวมไปถึงหมั่นใช้หน้ากากอนามัยในพื้นที่มลพิษสูง หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) สารเคมีบางชนิดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง
  4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน โดยเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    1. รับประทานผักและผลไม้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น เน้นผักผลไม้
    2. ลดอาหารแปรรูป หรืองดอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน เนื่องจากมีสารก่อมะเร็ง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการบริโภคให้ได้มากที่สุด
    3. ลดอาหารทอด อาหารทอดมักมี “ไขมันทรานส์” ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง จากสารก่อมะเร็ง
    4. ลดปริมาณเนื้อแดง เนื้อแดงมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะในเนื้อแดงมีไขมันอิ่มตัวสูง เมื่อนำไปปรุงสุกในอุณหภูมิสูงก็จะยิ่งก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งได้เช่นกัน
  5. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ การดื่มน้ำช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายอย่างน้อยวันละ 1-2 ลิตร
  6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ และคัดกรองมะเร็งตามช่วงอายุ เช่น ตรวจมะเร็งเต้านม ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยให้พบโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ 
  7. ลดความเครียด ใช้เวลาในการพักผ่อนและหากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น สมาธิ หรือโยคะ เพราะความเครียดที่สะสมอาจส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน

การป้องกันมะเร็งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้สูงมากขึ้นครับ

7 วิธีป้องกันและลดการเกิดมะเร็งก่อนสาย

 

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ

     ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ เปิดให้บริการศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา  รพ.พริ้นซ์ ศรีสะเกษในช่วงมกราคม 2568 นี้ ให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย (Diagnosis)  เป็นแหล่งบริการสำคัญสำหรับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลด้านมะเร็งโดยไม่ต้องเดินทางไกลไปยังศูนย์ใหญ่ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาวได้อีกด้วย

 

บริการการรักษาของศูนย์

  1. การรักษาด้วยรังสีรักษา (Radiation therapy) การใช้รังสีพลังงานสูงฉายตรงไปที่ตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง เพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้นๆ โดยการฉายแสงจะส่งผลให้เซลล์มะเร็งที่ได้รับรังสีมีการเปลี่ยนแปลงในระดับยีน
  2. รักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) วิธีการรักษามะเร็งด้วยกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย พร้อมทั้งยับยั้งไม่ให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัว เติบโต แพร่กระจาย และตายลงในที่สุด การให้คีโม ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง ลดจำนวนเซลล์มะเร็ง และป้องกันการเป็นซ้ำ
  3. รักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง ซึ่งยับยั้งการส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโต และการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ทำให้มีการตอบสนองในการรักษาสูง สามารถควบคุมโรคมะเร็งได้ยาวนานกว่า
  4. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative Care)  บริการดูแลที่มีมุ่งเน้นในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นการดูแลควบคู่กับการรักษาหลักที่มุ่งหวังกำจัดตัวโรค

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลพริ้นซ์ศรีสะเกษ เป็นศูนย์กลางที่มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างครบวงจร ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยา พร้อมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเรามีเป้าหมายให้บริการรักษามะเร็งและรังสีรักษา ที่มีมาตรฐานสากลเพื่อชาวศรีสะเกษและพื้นที่ใกล้เคียง ให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อเดินหน้ายกระดับการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ ด้วยการเปิดศูนย์มะเร็งและรังสีรักษาแห่งแรกของจังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นการร่วมกับภาครัฐในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในพื้นที่อย่างครบวงจรและทันสมัยสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงระยะสุดท้าย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาค หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศูนย์มะเร็ง PSSK สามารถติดต่อได้ที่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ  

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย
นพ.ธนา ปฏิมารัตนานันท์ แพทย์เฉพาะทางมะเร็ง โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ
ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2567

 

คลิก เพื่อดูศูนย์การรักษาอื่น ๆ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่พบบ่อยในไทย มะเร็งมีกี่ชนิด?

โรคมะเร็งเป็นหนึ่งในภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญของคนไทยในปัจจุบัน และเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิต และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จากสถิติโรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าแต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 83,000 คน โดยมีชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยแตกต่างกันไปตามเพศ กลุ่มอายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และสิ่งแวดล้อม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่พบบ่อยในไทยจะช่วยให้เราสามารถป้องกันและตรวจพบโรคได้ในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น

มะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่พบบ่อยในไทย มะเร็งมีกี่ชนิด?

โรคมะเร็งเป็นหนึ่งในภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญของคนไทยในปัจจุบัน และเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิต และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จากสถิติโรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าแต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 83,000 คน โดยมีชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยแตกต่างกันไปตามเพศ กลุ่มอายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และสิ่งแวดล้อม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่พบบ่อยในไทยจะช่วยให้เราสามารถป้องกันและตรวจพบโรคได้ในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น